วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ธรรมชาติประกอบไปด้วย 2 คำ นั่นคือ ธรรมะ กับ ชาตะ ธรรมะ คือความจริง คือสิ่งที่ปรากฏจับต้องได้ รับรู้ได้ อย่างที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงตรัสรู้ และนำมาสั่งสอนพวกเราก็คือการรู้ซึ่งความจริง ก็คือ ธรรมะ ส่วนชาตะคือ การเกิด ซึ่งเป็นวัฏจักร เมื่อมีเกิดก็ต้องมีดับ มีตาย ใบไม้ก็ต้องร่วงนั่นคือวัฏจักร ดังนั้นธรรมชาติก็คือ วิถีหรือวัฏจักรของความจริงที่เกิดขึ้น
ธรรมชาติ หมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทางกายภาพ และกล่าวถึงชีวิตโดยรวม ซึ่งเป็นขอบเขตของการศึกษาตั้งแต่ระดับภายในอะตอมไปจนถึงระดับจักรวาล




            ประเทศไทยเคยอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากมาย โดยเฉพาะป่าไม้ และสัตว์ป่า แต่ทรัพยากรอันทรงคุณค่าเหล่านี้ ได้ถูกทำลายลงไปเป็นอันมากทั้งอย่างถูกต้อง และไม่ถูกต้องตามกฏหมาย จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เรายังเหลือสิ่งเหล่านี้อีกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และผืนป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ หน่วยพิทักษ์ป่าละเลิงร้อยรู จังหวัดบุรีรัมย์ ก็เป็นที่หนึ่งซึ่งมีความสำคัญและได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ได้ประสบกับปัญหาการลักลอบทำลายธรรมชาติ และการบุกรุกพื้นที่จากชาวบ้านรอบพื้นที่
            ชมรมนักนิยมธรรมชาติจึงได้เห็น ถึงความสำคัญของการที่จะช่วยกันรักษาป่าผืนนี้ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ และได้ตระหนักว่ากำลังสำคัญที่จะช่วยในการอนุรักษ์ธรรมชาติของประเทศต่อไป คือเยาวชน จึงได้ดำเนินการที่จะปลูกฝังความรักธรรมชาติ และสร้างพื้นฐานการอนุรักษ์ธรรมชาติให้แก่เยาวชน เพื่อให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้ เป็นกำลังสำคัญ ในการที่จะรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกต้องต่อไป


ธรรมชาติเป็นสิ่ที่อยู่ใกล้ตัวเรา   ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้   ป่าเขา   สัตว์ป่่า     ดอกไม้   ต้นหญ้าก็ล้วนเป็นธรรมชาติทั้งสิ้น    ธรรมชาติที่สวยงามบางเเห่งก็ถูกจัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ให้ความพักผ่อนหย่อนใจ   ซึ่งในประเทศไทยเเละทั่วดลกก็มี่สถานที่ที่สวยงามหลายเเห่งในประเทศไทยสถานที่ท่องเที่ยว  เช่น เกาะสมุย เขื่อนเชี่ยวหลาน น้ำตกสอยดาว    ภูกระดึง    ดอยอินทนนท์   ดอยสุเทพ  เป็นต้น 
ซึ่งในปัจจุบันธรรมชาติก็ถูกทำลายไปมากก้ฝีมือจากมนุษย์ทุกนที่ไม่ช่วยกันรักษาสิ่งเเวดล้อม
ให้สวยงาม  กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่น่าไปเที่ยวอีกต่อไป
             ดังนั้นเราจะต้องกันรักษาสิ่งเเวดล้อมให้น่าอยู่ต่อไป  เช่น  การไม่ทิ้งขยะในที่สาธารณะ เเละสถานที่ท่องเที่ยว ฏ็เป้นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ธรรมชาติสวยงามอีกครั้ง

ในหลายๆ ด้านแล้ว กล่าวได้ว่าธรรมชาติและมนุษย์มีหลายอย่างที่ขัดแย้งกัน บางคนมองธรรมชาติว่าเป็นเพียงทรัพยากรธรรมชาติที่เอามาเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์เท่านั้น มนุษย์ตัดต้นไม้เพื่อนำไม้ไปเป็นเชื้อเพลิงหรือนำไปสร้างบ้าน หรือเพื่อนำที่ดินไปทำสวน ปลูกผัก หรือสร้างรถ และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปล่อยควันเสีย โดยเฉพาะในเมือง หรือการที่มนุษย์จับปลาอย่างมากมายโดยฆ่าทั้งปลาและทำอันตรายต่อสัตว์อื่นๆ ใต้น้ำ
          ในขณะที่บางคนเลือกที่จะไม่ทำร้ายธรรมชาติ เพราะพวกเขารู้สึกว่าธรรมชาติมีความจำเป็นต่อพวกเขา พวกเขาจึงพยายามทำสิ่งที่ไม่มีผลกระทบต่อธรรมชาติ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่มีผู้คนมากมาย ปัญหาธรรมชาติจึงเป็นปัญหาที่ร้ายแรง และกลายเป็นเรื่องการเมืองไปเสียแล้ว
มีบางคนคิดว่าอนาคตนี้มนุษย์จะไม่ต้องการธรรมชาติ และฉลาดพอที่จะสร้างสิ่งต่างๆ ทดแทนธรรมชาติได้ แต่อันที่จริงแล้ว มนุษย์เองก็เกิดจากธรรมชาติและธรรมชาติก็สร้างมนุษย์ มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่มีสมองอันชาญฉลาด มีความสามารถที่จะปกป้องธรรมชาติจากอันตราย และช่วยเหลือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นได้ หากธรรมชาติเสื่อมโทรมลงไป มนุษย์อาจจะต้องอยู่อย่างลำบากมากขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราควรจะดูแลรักษาธรรมชาติ ธรรมชาติสามารถแสดงให้มนุษย์เห็นว่าจะทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างไร และมนุษย์ศึกษาธรรมชาติ เพื่อที่จะเข้าใจและแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง


         ธรรมชาติวิทยา หรือประวัติศาสตร์ธรรมชาติ หมายถึงคำรวมที่ใช้เรียกสรรพสิ่งทั้งหลายที่ปัจจุบันมองว่าเป็นศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความเฉพาะชัดเจน นิยามเกือบทั้งหมดรวมถึงการศึกษาสิ่งมีชีวิต (เช่น ชีววิทยา รวมทั้งพฤกษศาสตร์และสัตววิทยา) นิยามอื่นได้ขยายเนื้อหารวมไปถึง บรรพชีวินวิทยา นิเวศวิทยา ดาราศาสตร์ หรือชีวเคมี รวมทั้งธรณีวิทยาและฟิสิกส์ หรือแม้แต่อุตุนิยมวิทยา บุคคลผู้สนใจในธรรมชาติวิทยาเรียกว่า "นักธรรมชาติวิทยา"

       ประวัติศาสตร์ของธรรมชาติวิทยา

              ต้นตอของธรรมชาติวิทยาย้อนยาวไปถึงสมัยของ อริสโตเติลและนักปราชญ์โบราณคนอื่นๆ ที่ได้วิเคราะห์ค้นหาความหลากหลายของธรรมชาติในโลก นับตั้งแต่กรีกโบราณมาจนถึงยุคของคาโรลัส ลินเนียส และนักธรรมชาติวิทยาสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 อีกหลายคน แนวคิดหลักที่ผูกกันไว้ก็คือ scala naturae หรือ"ห่วงโซ่อันยิ่งใหญ่แห่งการมีชีวิตอยู่" ที่จัดรวมเอาแร่ธาตุ พืช สัตว์และสิ่งมีชีวิตชั้นสูงมาเรียงเป็นเส้นยาวแห่งการเพิ่ม "ความสมบูรณ์" ธรรมชาติวิทยามาหยุดนิ่งอยู่นานในยุคกลาง โดยเฉพาะเมื่อมีความพยายามเอางานของ อริสโตเติลมาผสมกับปรัชญาคริสต์ศาสนา โดยเฉพาะ โทมัส อควินัสซึ่งได้กลายมาเป็นรูปพื้นฐานของวิชาเทววิทยาธรรมชาติ(natural theology) ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา นักวิชาการ (โดยเฉพาะแพทย์สมุนไพร) ได้หันกลับไปสู่ธรรมชาติวิทยาด้วยการสังเกตการณ์กับต้นพืชและสัตว์โดยตรงอีกครั้งหนึ่ง และหลายคนเริ่มต้นการสะสมต้นไม้แปลกๆ และสัตว์ประหลาดมากขึ้น การเพิ่มจำนวนของชนิดของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่มากขึ้นจนเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วเป็นเหตุให้เกิดความพยายามในการจัดหมวดหมู่อนุกรมวิธานที่ถึงจุดสูงสุดของระบบเป็นที่รู้จักกันดีว่า ระบบลินเนียส
ในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 ย่างต่อเนื่องสู่ศตวรรษที่ 19 คำเรียกสาขา "ธรรมชาติวิทยา" หรือ "ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ" ส่วนใหญ่ใช้หมายถึงบริบทที่เป็นการพรรณนาว่าด้วยการศึกษาธรรมชาติ ซึ่งตรงข้ามกับประวัติศาสตร์ด้านรัฐศาสตร์หรือด้านศาสนา ซึ่งเป็นน้ำหนักถ่วงดุลการศึกษาเชิงวิเคราะห์ด้านธรรมชาติ นั่นคือ "ปรัชญาธรรมชาติ" ซึ่งเนื้อหาวิชาจะรวมแนวคิดด้านฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ โบราณคดี ฯลฯ การใช้ในลักษณะกว้างๆ เช่นนี้ ก็ยังคงใช้กันอยู่ในบางสถาบัน เช่น พิพิธภัณฑ์ต่างๆ และสมาคม โดยเริ่มต้นในยุโรป วิชาชีพเฉพาะต่างๆ เช่น สรีรวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตวศาสตร์ธรณีวิทยา และต่อมาเกิดยังได้เกิดเป็นวิทยาเซลล์(cytology) และคัพภวิทยา (embryology) ขึ้น
ธรรมชาติวิทยาเดิมเป็นวิชาหลักที่เปิดสอนเฉพาะในมหาวิทยาลัยโดยอาจารย์ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่นานๆ เข้าจึงได้กระจายออกมาสู่กิจกรรมของนักสะสมสมัครเล่นมากกว่าการเป็นวิทยาศาสตร์แท้ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรและอเมริกาที่งานในด้านนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็วกลายเป็นงานอดิเรกเฉพาะชนิดมากขึ้น เช่นการศึกษาเรื่องนก ผีเสื้อและดอกไม้ป่า ในขณะเดียวกันนักวิทยาศาสตร์ก็ได้พยายามบ่งชี้สาขาวิชาชีววิทยาให้เด่นชัดและรวมกันให้เป็นตัวตนที่ชัดเจนขึ้น (แม้จะมีเพียงบางส่วนที่เป็นผลสำเร็จ แต่อย่างน้อยๆ ก็ได้มาถึงขั้น "การสังเคราะห์วิวัฒนาการสมัยใหม่" (modern evolutionary synthesis) แต่ถึงกระนั้น ธรรมเนียมของธรรมชาติวิทยาก็ยังคงเล่นบทบาทของชีววิทยาเมื่อครั้งคริสต์ศตวรรษ 19 และ 20 อยู่ โดยเฉพาะเกี่ยวกับด้านนิเวศวิทยา พฤติกรรมวิทยา (ethology) และ วิวัฒนาการชีววิทยา
           นักสะสมสมัครเล่นหลายคนและนักประกอบการทางธรรมชาติวิทยาหลายคนมีบทบาทสำคัญในการสร้างสถาบันสะสมธรรมชาติวิทยาขนาดใหญ่ โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา สถาบันสมิทโซเนียน